"จงไปและเชิญทุกคนมางานเลี้ยง" (เทียบ มธ 22:9) ....สารวันแพร่ธรรม ปี 2024....

The Infant of Pragueพระกุมารแห่งกรุงปร๊าก
The Infant of Prague
        ในกรุงปร๊าก สาธารณะเชค มีรูปของพระกุมารเยซูที่มีชื่อเสียงเรียกกันว่า “พระกุมารแห่งกรุงปร๊าก” รูปพระกุมารศักดิ์สิทธิ์นี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสเปน โดยแต่เริ่มแรกนั้นรูปนี้เป็นของขวัญของสตรีชาวสเปนคนหนึ่งที่ได้มอบให้ขุนนางชาวเชคในโอกาสวันแต่งงาน แต่ต่อมารูปนี้ได้มีการมอบให้กับนักบวชคาร์เมไลท์


       
ในปี ค.ศ. 1628 นักบวชคาร์เมไลท์ต้องหนีออกจากอารามเนื่องจากการโจมตีของพวกเซกซอนและพวกสเวนดิส ในปี ค.ศ. 1638 บาทหลวงซีริล แห่งคณะคาร์เมไลท์ ได้กลับมายังกรุงปร๊ากและได้พบรูปนี้ถูกทิ้งไว้นอกวัด ในลักษณะที่แขนทั้งสองข้างแตกหักไปแล้ว บาทหลวงได้นำรูปนี้ไปประดิษฐานไว้ในห้องเพื่อภาวนา และวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังภาวนาต่อหน้าพระรูปนี้ ท่านได้ยินเสียงที่ออกมาจากรูปนี้ว่า “จงเมตตาเราด้วย แล้วเราจะให้ความเมตตาแก่ท่าน จงซ่อมมือของเราแล้วเราจะมอบสันติสุขให้แก่ท่าน” ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยอันตรายจากภัยสงคราม นักบวชไม่มีเงินพอที่จะซ่อมรูปนี้ บาทหลวงจึงภาวนาขอคำแนะนำจากพระกุมาร ท่านได้รับคำตอบจากพระกุมารอีกว่า “จงตั้งรูปของเราไว้ใกล้ๆกับทางเข้าห้องศักดิ์สิทธิ์และท่านจะได้รับความช่วยเหลือ” หลังจากนั้นไม่สองสามวัน มีคนร่ำรวยคนหนึ่งได้เข้ามาพบและเสนอความช่วยเหลือให้ 

 The Infant of Prague       
รูปพระกุมารเยซูจึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางเพราะอัศจรรย์นี้ รวมถึงการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการปกป้องคุ้มครองวัดให้พ้นจากภัยสงครามต่างๆที่ตามมา พระพรต่างๆได้เกิดขึ้นกับกับบุคคลที่ได้มาอธิษฐานภาวนาต่อพระเยซูคริสต์ภายใต้ชื่อว่า “พระกุมารแห่งกรุงปร๊าก” ซึ่งมีบทภาวนาและบทสวดนพวารของท่านด้วย
รูปพระกุมารนี้สูงประมาณ 18½  นิ้วทำด้วยไม้หุ้มด้วยขี้ผึ้ง พระกุมารทรงถือลูกโลกที่มีไม้กางเขนอยู่ด้านบน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงการเป็นกษัตริย์ มือขวายกสองนิ้วขึ้นในลักษณะประทานพระพรซึ่งบ่งบอกถึงสถานะแท้จริงของพระองค์เองที่ทรงเป็นทั้งพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ แต่เดินนั้นรูปไม่ได้แต่งตัวอย่างเช่นที่เห็นในปัจจุบัน(ดูภาพประกอบ) ส่วนมงกุฎนั้นเบอร์นาร์ด อิกญาซีอุส ได้จัดถวายให้ในปี ค.ศ. 1651 และต่อมาในปี 1655 ได้มีพิธีสวมมงกุฎแด่รูปพระกุมารอย่างสง่าโดยพระสังฆราชแห่งกรุงปร๊าก ดังนั้นในปัจจุบันเราจะเห็นพระรูปนี้มีทั้งมงกุฎและเครื่องแต่งกายอย่างกษัตริย์ มีเชือกคาดเอวอย่างพระสงฆ์ ในปี ค.ศ.1788 ครอบครัวขุนนางครอบครัวหนึ่งได้ถวายแหวน 2 วงเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูสำหรับพระพรที่ได้รับเนื่องมาจากบุตรสาวได้หายจากความเจ็บป่วย รูปในลักษณะนี้เราสามารถไปเยี่ยมชมได้ที่วัดเซนต์แมรี่และวัดเซนต์แอนโทนีแห่งปาดัว กรุงปร๊าก สาธารณะเชค(St. Mary the Victorious and St. Anthony of Padua, (in the care of the Discalced Carmelites), Karmelitska 9, 118 00 Praha 1, Czech Republic.)

         เรื่องความศรัทธาต่อพระกุมารเยซูในเกาะเชบูประเทศฟิลิปปินส์เป็นเรื่องน่าสนใจมาก ประวัติโดยสังเขปเนื่องมาจากมีนักสำรวจชาวโปตุเกสที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งชื่อเฟอร์ดินันด์ มักเกลลันได้มอบรูปพระกุมารแห่งกรุงปร๊ากให้กับภรรยาของกษัตริย์ราชาห์ ฮูมาบอนแห่งเชบู หลังจากที่นางกลับใจมานับถือศาสนาคริสต์และได้รับพระนามว่าราชินีจูอานาในปี 1521 บาทหลวงที่ปรึกษาของมักเกลลันชื่อเปโดร เดอ วาลเดร์รามาได้ทำการเทศนาจนทำให้คนพื้นเมืองบนเกาะกลับมานับถือศาสนาคริสต์จำนวนมาก แต่ที่สุดเกิดการต่อสู้กันระหว่างคริสตชนเก่ากับคริสตชนใหม่กับคนพื้นเมืองจากเกาะแมกตัน คริสตชนจากเกาะเซบูแพ้ มักเกลลันถูกฆ่าตายส่วนลูกน้องของเขาพากันกลับไปยังสเปน

          ในปี ค.ศ. 1565 มีเกล โลเปส เดอ เลกัสปี กัปตันชาวสเปนได้เดินทางมายังเกาะเซบูพร้อมกับมิชชันนารี่คณะออกัสติน พวกเขาถูกโจมตีอย่างหนัก และได้มีการต่อสู้กัน ท่ามกลางความปรักหังพังของสงคราม พวกเขาได้พบรูปพระกุมารแห่งปร๊ากที่มักเกลลันได้มอบให้แก่พระราชินีจูอานา พวกเขาจึงได้สร้างสถานที่สำหรับเคารพพระรูปนี้และต่อมาได้พัฒนาเป็นวิหารแห่งพระกุมารศักดิ์สิทธิ์  (The Basilica Minore del Santo Niño) พระกุมารศักดิ์สิทธิ์นี้จึงเป็นที่รักของชาวฟิลิปปิลส์จนกระทั่งทุกวันนี้ มีการจัดการฉลองที่ยิ่งใหญ่ในสัปดาห์ที่สามของเดือนมกราคม พวกเขาจะแสดงความศรัทธาด้วยการจัดการเดินพาเหรดที่สวยงาม การเฉลิมฉลองต่างๆ การเต้นรำ เราสามารถพูดได้ว่าบ้านของชาวฟิลิปปิลส์นั้น ไม่มีบ้านใดที่ไม่มีรูปพระกุมารเยซูประดิษฐานไว้

LINKS

www.ppoomm.v

http://www.catholicmission.org.au/http://www.missionsocieties.ca/www.pms-phil.orgwww.missio.org.mthttp://www.obrasmisionalespontificias.es/คณะธรรมทูตไทย

สถิติการเยี่ยมชม

14619269
Today
Yesterday
This Week
This Month
All days
277
269
1575
955
14619269
Your IP: 18.227.140.251
2025-01-04 22:59