ประวัติศาสตร์และพระพรเฉพาะของสมณองค์กรยุวธรรมทูต
ตอนที่ 8

ความศรัทธาต่อพระกุมารเยซู

                 นักบุญ John Eudes ได้นำเสนอบทเร้าวิงวอนพระกุมาเยซูเพื่อใช้สำหรับการภาวนาในครอบครัวและส่งเสริมการฉลองพระกุมารเยซูในคณะของท่านในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ต่อทาพระสังฆราช De Carcassonne ได้จัดพิมพ์บทเร้าวิงวอนพระกุมารเยซูให้สมาชิกของสมณองค์กรยุวธรรมทูต

                 หลังจากปี ค.ศ. 1660 เป็นต้นมาพบว่ามีสถาบันการศึกษาและคณะนักบวชจำนวนมากได้ให้ความศรัทธาต่อพระกุมารเยซูอย่างเปิดเผย ความรักต่อพระกุมารเยซูทำให้ประชาชนจำนวนมากมอบกายและใจของตนเองให้กับพระกุมาร โดยเฉพาะบุคคลที่มีความต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด นอกจากนั้นยังมีข้อเขียนที่เกี่ยวกับความศรัทธาต่อพระกุมารเยซูเป็นจำนวนมากเช่นกัน แม้แต่คุณพ่อ Fenelon (ผู้เขียนเทววิทยา) ก็เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสนใจในแนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตจิตของพระเยซูในปฐมวัย โดยพูดถึงคุณลักษณะของพระกุมารเยซูที่ เด็กๆควรดำเนินชีวิตตามแบบอย่างนี้ คือ การมีความยากจนฝ่ายจิต การเป็นเด็กๆที่ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย และมอบตนเองภายใต้การชี้นำจากพระเจ้าในทุกกรณีของชีวิต

                นักบุญยอห์น บัปติส เดอ ลา ซาล มอบคณะของท่านให้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระกุมารเยซู และมีพิธีถวายตัวแด่พระกุมารเยซูในวันฉลองคริสตมาสของทุกปี ท่านได้นำเสนอวิธีการภาวนาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตในปฐมวัยของพระเยซูเพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตจิตของบรรดาผู้ให้อบรมคริสตชน

               ในวันที่ 9 พฤษภาคม 1843 เจ้าคณะ The Brothers of Christian School ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการองค์กรยุวธรรมทูต
                ความศรัทธาต่อพระกุมารเยซูเริ่มลดต่ำลงในช่วงท้ายๆของศตวรรษที่ 17 องค์กรยุว ธรรมทูตเองก็ละเลยต่อความศรัทธาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากอคติของของพวกลัทธิ Jansenist และผู้ที่ขัดแย้งกับคริสต์ศาสนาเกี่ยวกับข้อความเชื่อ แต่อย่างไรก็ตามแม้ความเชื่อศรัทธาต่อพระกุมารเยซูในประเทศฝรั่งเศสลดลง แต่ในประเทศอื่นๆกลับเจริญรุ่งเรืองขึ้น ตัวอย่างเช่น กระกุมารเยซูแห่งกรุงปร๊าก สาธารณะรัฐเช็คและในข้อเขียนต่างๆของคริสตชนในประเทศอิตาลีระหว่างศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งมีการระลึกถึงเป็นพิเศษในช่วงของการเตรียมตัวเพื่อการฉลองวันคริสตมาส โดยจัดให้มีการทำนพวาร การเทศน์ และมีการเผยแพร่ความศรัทธาต่อพระกุมารเยซูด้วยภาพวาด บทกวี และศิลปะในแขนงต่างๆ

               ในศตวรรษที่ 19 ได้มีการค้นพบรูปแบบการแสดงความศรัทธาต่อพระกุมารเยซูในยุคแรกๆ และมีคณะนักบวชใหม่ๆจำนวนมากที่ได้มอบคณะของตนเองให้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระกุมารเยซู โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเด็กๆที่ถูกทอดทิ้ง เอกสารในสมัยนั้น เช่น มีหนังสือจำนวนมากที่เขียนขึ้นเพื่อช่วยให้คริสตชนได้รำพึงภาวนาเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซูในปฐมวัย และการแสดงความศรัทธาต่อพระกุมารในเดือนมกราคมเริ่มมีการแผ่ขยายไป

สิทธิพิเศษของเด็กๆ
               โดยผ่านทางองค์กรยุวธรรมทูตนี้ พระสังฆราชเดอฟอร์บิน-เจนสันได้ทำให้เด็กๆได้มีโอกาสบรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์ ปฐมวัยของพระบุตรของพระเจ้าทำให้เด็กๆเกิดความตระหนักว่าชีวิตจิตของพวกเขาจะต้องเติบโตขึ้นตั้งแต่ได้รับศีลล้างบาปต่อเนื่องไปจนถึงศีลมหาสนิท ศีลล้างบาปทำให้เด็กๆได้รับพระพรแห่งชีวิตใหม่และได้แบ่งปันพระพรนั้นแก่พี่น้องชายหญิงของพวกเขา ต่อมาพวกเขาได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยพระพรแห่งศีลมหาสนิทและกลับกลายเป็นขนมปังที่ ถูกปิแล้วแจกจ่ายให้แก่เด็กๆที่มีความยากลำบากกว่า

                นักบุญเทเรซา แห่งเลอซิเออ เป็นแบบอย่างที่เด่นชัดในเรื่องนี้ พระศาสนจักรที่เข้มแข็งกว่ามีหน้าที่ที่จะเป็นเพื่อนร่วมทางกับเด็กๆในเส้นทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์เพื่อว่าความเชื่อของเด็กเล็กๆนี้จะได้กลับกลายเป็นธรรมทูตในทุกนาทีของชีวิต

                งานธรรมทูตของยุวธรรมทูตแสดงออกด้วยกิจการที่เล็กๆน้อยๆที่พวกเขาพึ่งกระทำได้ เช่น การมีจิตที่รักสันติ การเล่น การทำงาน การภาวนา การช่วยเหลือผู้อื่น การคิดถึงเพื่อนพี่น้องที่อยู่ห่างไกล ทั้งนี้ด้วยจิตตารมณ์แห่งความเป็นพี่เป็นน้องในองค์พระคริสตเจ้า

               เด็กๆทั้งหลาย จงยึดคำขวัญที่ว่า “เพื่อนช่วยเพื่อน” และขอให้เราร่วมเดินทางไปกับพระเยซูเจ้าเพื่อมุ่งหน้าไปหาพระบิดาเจ้าด้วยกัน

                 สมณองค์กรยุวธรรมทูตช่วยผู้ให้การอบรมได้ปลุกจิตสำนึกการเป็นธรรมทูตของเด็กๆและช่วยพัฒนาบทบาทการเป็นธรรมทูตของพวกเขา
- ให้เด็กๆแบ่งปันความเชื่อและสิ่งของต่างๆให้กับเด็กๆในดินแดนที่มีความต้องการมากที่สุดและพระศาสนจักร
– ส่งเสริมกระแสเรียกการเป็นธรรมทูต
– บูรณาการองค์กรยุวธรรมทูตให้เข้าอยู่ในแผนงานอภิบาลของการให้การอบรมแบบคริสตชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมงานธรรมทูตในงานอภิบาลนั้น