ขอบฟ้าใหม่แห่งข่าวดีของพระเจ้าขอบฟ้าใหม่แห่งข่าวดีของพระเจ้า
        ราชบุรี : วันที่ 1-3 กรกฎาคม 2016 พระคาร์ดินันล์ ชาร์ลเมือง โบ แห่งอัครสังฆมณฑลร่างกุ้ง ประเทศเมียนร์ม่า ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมสังฆมณฑลราชบุรี โดยมี ฯพณฯ ยอห์น บอสโก และคณะสงฆ์ให้การต้อนรับ

         พระคาร์ดินันล์ ชาร์ลเมือง โบ ได้เยี่ยมเยือนชาวเมียนร์ม่าที่อาศัยอยู่ในค่ายอพยพถ้ำหิน อ.จอมบึง ราชบุรี ซึ่งผู้อพยพตามทะเบียนทางการจำนวน 4871 คน ค่ายแห่งนี้เป็น 1 ใน 9 แห่งที่ตั้งอยู่ใน 4 จังหวัดบริเวณชายแดนไทย-เมียนร์ม่า ที่ได้รับการดูแลจาก รัฐบาลไทยและได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ขณะที่ยูเอ็นเอชซีอาร์ได้ทำงานโดยเน้นหนักไปที่กิจกรรมการคุ้มครองเพื่อทำให้ผู้ลี้ภัยได้อยู่อาศัยอย่างปลอดภัยในค่าย ส่วนสังฆมณฑลราชบุรีได้ให้การอภิบาลบรรดาคริสตชนที่อาศัยอยู่ในค่ายแห่งนี้โดยการจัดให้มีพระสงฆ์เข้าไปถวายมิสซาฯและให้การเยี่ยมเยี่ยน และคารีตัสราชบุรีร่วมให้การสนับสนุนเรื่องสุขภาพอนามัย การศึกษาและชีวิตความเป็นอยู่

         สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่พระคาร์ดินันล์ ชาร์ลเมือง โบได้เยี่ยมเยือนคือศูนย์แรงงานเมียนร์ม่า ( St.John Paul II migrant center) ศูนย์แห่งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสังฆมณฑลราชบุรี โดย ฯพณฯ ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ กับสังฆมณฑลปาติน ( Pathein diocese) แห่งเมียนร์ม่า โด ฯพณฯ ยอห์น ลักษณะของความร่วมมือในการทำงานคือ ประเทศไทยได้ขอให้คัดเลือกเยาวชนจากเมียนร์ม่า (Pathein diocese)ที่สนใจเข้ามาทำงานในประเทศไทยเข้ารับการฝึกอบรม เรียนรู้วัฒนธรรมไทยและการใช้ชีวิตในประเทศไทย เมื่อพวกเขาสมัครใจจึงได้จัดทำสัญญาว่าจ้างการทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเข้าทำงานตามโรงงาน โดยทางศูนย์แรงงานเมียร์ม่า ยอห์นปอลที่สองจะจัดที่พัก พร้อมกับมีคุณพ่อและซิสเตอร์ให้การดูแลอย่างเป็นระบบ มีการสวดภาวนา สายประคำ พิธีมิสซาฯ การเรียนรู้ภาษาไทย การแสวงบุญ การพักผ่อนด้วยกัน ฯลฯ

        แนวความคิดการจัดตั้งศูนย์แรงงานเมียนร์ม่านี้เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2014 เนื่องมาจาก ฯพณฯ ยอห์น บอสโก ปัญญา และดร.อภินันท์ บุษบก (ศิษย์เก่าบ้านเณรราชบุรี) ได้พบว่ามีแรงงานเมียนร์ม่าที่เป็นคาทอลิกเข้ามาทำงานในเขตสังฆมณฑลราชบุรีเป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดการอภิบาลอย่างเพียงพอ อีกทั้งแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานมักจะมีปัญหาด้านกฎหมายและชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนมีปัญหากับนายจ้างในรูปแบบต่างๆ นอกจานั้นยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากความการปฏิบัติตัวของพวกเขาเองด้วย ดังนั้นถ้าได้มีการอภิบาลที่เหมาะสม นอกจากจะได้ช่วยอภิบาลชาวเมียนร์ม่าที่เป็นคาทอลิกแล้ว ยังสามารถช่วยแรงงานต่างชาติอื่นๆให้สามารถทำงานในประเทศไทยได้อย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรี และมีรายได้เพื่อนำไปเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวอีกด้วย ปัจจุบันศูนย์แห่งนี้มีสมาชิกอยู่ประจำประมาณ 150 คน มีพระสงฆ์ชาวเมียร์ม่าหนึ่งท่านและซิสเตอร์เมียนร์ม่าสองท่านเป็นผู้อภิบาลประจำศูนย์ และยังมีศูนย์เช่นนี้ที่อำเภอสามร้อยยอด ปราณบุรี ซึ่งดำเนินการเช่นเดียวกับศูนย์ยอห์น ปอลที่สองอีกหนึ่งแห่งด้วย

        งานด้านการดูแลผู้อพยพและแรงงานพลัดถิ่นสอดคล้องกับกฤษฎีกาในเรื่องพระศาสนจักรเพื่อคนยากจนและการเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์ (บทที่ 4 ข้อ 26-27)