สาสน์วันแพร่ธรรมปี 2011
จากคุณพ่อ Timothy Lehane B.svd
เลขาธิการของสมณองค์กรเผยแพร่ความเชื่อ
สารเกี่ยวกับสารวันอาทิตย์แพร่ธรรมสากล ปี ค.ศ. 2011 ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
เป็นเวลา 85 ปีมาแล้วที่สมเด็จพระสันตะปาปาปีอุสที่ 11 (บ่อยครั้งที่เรียกกันอย่างติดปากว่า พระสันตะปาปาแห่งธรรรมทูต) ที่ได้ทรงริเริ่มให้มีการเรี่ยไรเงินในวันอาทิตย์แพร่ธรรมสากลเป็นครั้งแรก
พระองค์เป็นผู้เขียนสมณสาสน์การแพร่ธรรม “Rerum Ecclessiae” พระองค์ทรงยืนยันว่า “พระศาสนจักรไม่มีเหตุผลอื่นในการดำรงอยู่มากไปกว่าการพัฒนาพระอาณาจักรของพระคริสตเจ้าบนโลกนี้ เพื่อทำให้มนุษยชาติมีส่วนร่วมในผลของการไถ่กู้แห่งการช่วยให้รอดพ้นของพระองค์”
85 ปี ต่อมาในสารวันอาทิตย์แพร่ธรรมสากล ปี ค.ศ. 2011 ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11 (ซึ่งรวบรวมโดยสมณองค์กรเผยแพร่ความเชื่อ) ตรัสว่า “พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” (ยน 20:21) เป็นการกลับไปยังเรื่อง “การมีส่วนร่วม” ของทุกคน และสาส์นในปีนี้พระองค์ตรัสว่า “การแพร่ธรรมสากลเกี่ยวข้องกับทุกคน ทุกสิ่งและเสมอไป” “การแพร่ธรรมสากลเกี่ยวข้องกับทุกคน ทุกสิ่ง และเสมอไป” ข้าพเจ้าไม่สามารถช่วยแต่ขอให้คิดถึงความชื่นชมยินดี และความมีชีวิตชีวาฝ่ายจิต คือ “การมีส่วนร่วมในผลของการไถ่กู้แห่งการช่วยให้รอดพ้นของพระองค์” จะเป็นเครื่องชี้ว่าถ้าชุมชนพระศาสนจักรท้องถิ่นในปัจจุบันมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงขอให้เราค้นพบ ประสบการณ์นี้ เมือพระองค์ทรงใส่การมีส่วนร่วมในการแพร่ธรรมของเราแต่ละคน ดังที่ได้ทรงยืนยันว่า “ข่าวดีมิใช่เป็นสิทธิหรือสมบัติเฉพาะของผู้ที่รับมา แต่เป็นของขวัญที่ต้องแบ่งปัน ของขวัญและหน้าที่มิได้มอบให้สำหรับบางคนเท่านั้น แต่สำหรับทุกคนที่รับศีลล้างบาป...”
ในขณะที่ในปี 1926 สมเด็จพระสันตะปาปาปีอุสที่ 11 ทรงเห็นว่าเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ในฐานะ “หัวหน้านายชุมพาบาล” เพื่อ “มุ่งมั่น” ให้มนุษย์ทุกคนเข้ามาร่วมอยู่ใน “คอกแกะ” (RE 1) อย่างไรก็ตาม สารในปีนี้ก็เช่นกัน พระอ งค์ทรงใส่ดวงไฟที่สว่างจ้างให้เราทุกคน เพราะพระองค์ทรงกล่าวว่า “สัตบุรุษต้องทำความเข้าใจอย่างกระตือรือร้นและด้วยความมั่นคงในการสวดภาวนา พวกเขาต้องให้ความร่วมมือในการทำงานซึ่งศักดิ์สิทธิ์และให้ผลดีด้วยความใจกว้าง” (RE 3)
ในปัจจุบัน คำเรียกร้องของสมเด็นพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 มีความชัดเจนมาก ทรงเชื้อเชิญเราทุกคนให้แบ่งปันความรับผิดชอบส่วนรวมของความเชื่อของเราซึ่งเป็น “ของขวัญ-ความมุ่งมั่น” ที่เราได้รับมอบเพื่อที่จะแบ่งปันกับผู้อื่น เพื่อจะนำพวกเขาเข้าสู่ประสบการณ์ และความชื่นชมยินดีของพระอาณาจักร สิ่งนี้คือความรักผิดชอบของพระศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง และของทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาป เช่นเดียวกับสมเด็จพระสันตะปาปาหลายพระองค์ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงยืนยันว่าทุกชุมชนและทุกสถาบันของพระศาสนจักร ควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการแพร่ธรรมโดยการแสดงความสนใจของพวกเขาในการแพร่ธรรม และด้วยการสนับสนุนให้ความร่วมมือและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งหมายความว่า โดยทางศีลล้างบาป เราได้รับเรียกหรือเป็นธรรมทูตเพื่อมีส่วนร่วมในประสบการณ์ของความชื่นชมยินดีแห่ง “ผลของการไถ่กู้แห่งการช่วยให้รอดพ้นของพระองค์” ถ้าสิ่งนี้ได้รับการเข้าใจอย่างถูกต้อง ความใส่ใจในการแพร่ธรรมของเรา หรือกิจกรรมต่างๆ จะไม่เป็นการกระทำที่เป็นระยะๆ หรือที่ให้เลือกเพิ่มเข้ามาเป็นพิเศษในชีวิตประจำวันของเราคริสตชน แต่จะเป็นการเรียกที่มั่นคง และท้าทายอย่างสร้างสรรค์แก่เราในการเป็นพยานยืนยัน
ด้วยเหตุนี้ วันอาทิตย์แพร่ธรรมวันที่ 23 ตุลาคม จึงเป็นโอกาสพิเศษสำหรับเราให้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นวันที่จัดไว้เป็นพิเศษสำหรับคริสตชนทั่วโลกที่จะกลับมาปวารณาตนเอง เพื่อกิจกรรมการแพร่ธรรมของพระศาสนจักรโดยทางการสวดภาวนาและการทำพลีกรรม เปิดโอกาสให้เราในฐานะชุมชนท้องถิ่นของพระศาสนจักรได้ค้นพบความหมายทางเทววิทยาและคริสตจักรวิทยาของกิจกรรมของการแพร่ธรรม รวมทั้งให้โอกาสเราเพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายเรื่องการแพร่ธรรมในปัจจุบันในโลกที่ยิ่งทียิ่งซับซ้อนมากขึ้น
ในระดับส่วนบุคคล
การมีส่วนร่วมนี้ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงมอบให้กับเราในฐานะเป็นความท้าทายส่วนบุคคล ซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่าการแสวงหาความหมายที่สมบูรณ์ของชีวิตอย่างต่อเนื่องของมนุษยชาติ ข้อความซึ่งพัวพันกับการแสวงหานี้มีชีวิตชีวา และเป็นสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตความเชื่อของเรา ซึ่ง “ทำให้เข้มแข็งขึ้นด้วยการแบ่งปัน” สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเราคาทอลิก และเป็นการเดินทางของกิจกรรมการแพร่ธรรม ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เราได้รับในวิธีพิเศษ การดำรงอยู่ของความรักของพระเจ้าในพระตรีเอกภาพ เป็นดั่งน้ำพุที่เอ่อล้นของความรักที่ให้ชีวิตผู้ทรงเชื้อเชิญมนุษยชาติให้มาเข้าร่วมในความสมบูรณ์ของชีวิต และความรัก (AG 2) การมีส่วนร่วมนี้ซึ่งพระเจ้าทรงมอบหมายให้กับเรา และพระศาสนจักร เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวาฝ่ายจิต ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของความใหม่ และอย่างสร้างสรรค์ของการเดินทางฝ่ายจิตของเรา ซึ่งช่วยเราได้มากกว่าตัวของเราเอง และเดินไปในความเชื่อร่วมกับผู้อื่นด้วยท่าทีของความเคารพ ความรัก และความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน และเรา “จะเห็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก” (ยน 1:50) ดังนั้น บรรดาผู้แพร่ธรรมประกาศพระวาจาซึ่งไม่ใช่ของพวกท่าน แต่เป็นพระวาจาของพระเจ้า พวกท่านประกาศถึงอนาคตที่พระเจ้าทรงมีไว้สำหรับมนุษยชาติตามพระสัญญาของพระองค์ และไม่ใช่ด้วยความสามารถของพวกท่านเอง ดังนั้น “วิธีประกาศพระวรสารวิธีแรกคือการเป็นพยานยืนยันประกาศพระคริสตเจ้าด้วยการดำรงชีวิตแบบคริสตชนอย่างแท้จริง” (EN 41) เมื่อคริสตชนประกาศถึงชีวิต การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้านั้น เป็นข่าวดีที่ให้ความหมายในการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่นเดียวกับท่านนักบุญเปาโลเราเริ่มค้นพบ และมีประสบการณ์ของความชื่นชนยินดีว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ มิใช่ตัวข้าพเจ้าอีกต่อไป แต่พระคริสตเจ้าทรงดำรงชีวิตอยู่ในตัวข้าพเจ้า” (กท 2:20) ในสารกล่าวว่า กิจกรรมการแพร่ธรรม “เป็นการตอกย้ำความเชื่อและเอกลักษณ์ของคริสตชน” ของเราแต่ละคน เพราะในการเดินทางอย่างต่อเนื่องในการให้บริการผู้อื่นนั้นเราพบเหตุผลสำหรับความเชื่อของเรา สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเรียกสิ่งนี้ว่า “เป็นบริการการที่มีค่าที่สุดที่พระศาสนจักรสามารถแสดงต่อมนุษยชาติ” ด้วยเหตุนี้เราจึงถูกขอให้ “จงให้ทุกสิ่งที่เรามี และประกาศข่าวดีอย่างไม่หยุดยั้งให้กับทุกบุคคล”
นอกจากนี้ ในการมีส่วนร่วมของเรายังมีมิติทางด้านสังคมซึ่งนำเราไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สิ่งเหล่านี้ “เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของพระศาสนจักร ในการประกาศข่าวดี พระศาสนจักรให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับชีวิตมนุษย์อย่างยิ่ง สมเด็จพระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 ข้ารับใช้ของพระเจ้าประกาศว่า ในการประกาศข่าวดีนั้น เรื่องการส่งเสริมชีวิตมนุษย์ ความยุติธรรม การปลดปล่อยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากการถูกกดขี่ ซึ่งแน่ชัดว่า พาดพิงไปถึงมิติทางการเมืองด้วย การไม่สนใจใยดีต่อปัญหาทางด้านวัตถุ ของมนุษย์เท่ากับเป็นการ “หลงลืมคำสอนจากพระวรสารที่มาสู่เรา เกี่ยวกับความรักต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีความทุกข์ยาก และอยู่ในความขัดสน” (EN 31) ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้ ในทวีปอัฟริกา ดังที่ทุกคนได้ทราบแล้วว่า ซูดานใต้เป็นประเทศเกิดใหม่ที่ 50 ในช่วงเวลาเช่นนี้ เราจำเป็นต้องแสดงความรักและมิตรภาพของเรา ผู้ให้การสนับสนุนจำนวนมากที่มีอนาคตสดใสได้สัมผัสกับบรรดาธรรมทูตของเรา ซึ่งมีสถานการณ์ต่างๆ มากมายที่เป็นความระทมทุกข์ ซึ่งทำให้เจ็บปวดทรมาน โลกที่เราได้อ่านอยู่ทุกๆ วัน เช่น เกิดอะไรขึ้นที่ฮอร์นของอัฟริกาใต้ ที่ซึ่งมีความอดอยากที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อประชาชนไม่ต่ำกว่า 11 ล้านคน เราจำเป็นต้องทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อช่วยประชาชนเหล่านี้ของเราในอัฟริกา ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากมากที่พระศาสนจักรต้องเผชิญกับเสรีภาพ และความก้าวหน้าที่เป็นไปได้ในอนาคต ธรรมทูตคริสตชนอยู่ที่นั่น และในหลายๆ กรณี ที่พวกเขาต้องทำงานในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ดังที่เราได้ยินคำยืนยันเหล่านี้ในการประชุมใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ เมื่อเราเขียนรายการตามคำขอด้วยความหวังของผู้อำนวยการสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรม(PMS) ระดับชาติของประเทศเลบานอน ตูนีเซีย จอร์แดน ซีเรียและประเทศอื่นในอัฟริกาเหนือกล่าวถึงงานของพวกเขา บุคคลเหล่านี้และบรรดาธรรมทูตคนอื่นๆ ซึ่งทำงานอย่างโดดเดี่ยวในชุมชนคริสตชนกลุ่มย่อย เสียงดนตรีแห่งความหวังที่ดังกึกก้องของประชาชนของเขา คือ เมื่อพวกเขาได้ยินเสียงระฆังของวัด เพื่อเตือนเราทุกคนด้วยเช่นเดียวกันว่า พวกเขาก็เรียกประชาชนของพวกเขาในนามของพวกเราในชุมชนของความเป็นพี่น้องกันของความเป็นน้ำใจเดียวกันอย่างสากล
ในระดับพระศาสนจักร
มิติการแพร่ธรรมของพระศาสนจักรเป็นสิ่งจำเป็น เป็น “ศีลศักดิ์สากลแห่งการช่วยให้รอดพ้น” (LG 48; AG 1) ความเข้าใจนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับชีวิตสำหรับวิสัยทัศน์และกิจกรรมการอภิบาลของชุมชนของพระศาสนจักรท้องถิ่นของเรา จะต้องได้รับการนำเสนออยู่เสมอให้เป็นส่วนหนึ่งของการค้นหาอย่างต่อเนื่องเพราะ “การแพร่ธรรมฟื้นฟูพระศาสนจักร” ดังนั้น เราไม่ควรคิดว่าการแพร่ธรรมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการอภิบาลต่างๆ ที่มีมากมาย แต่เป็นแม่แบบของการเป็นพระศาสนจักรของเรา การมีส่วนร่วมในการแพร่ธรรม “จะให้ความกระตือรือร้นและแรงจูงใจใหม่ๆ” กับบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง และขึ้นอยู่กับผู้อภิบาลในเขตวัดของท้องถิ่น ที่จะเชิญชวนชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในความคิดสร้างสรรค์ เพื่อปลุกเร้า แบ่งปันประสบการณ์ และสะท้อนความเห็นของพวกเขา เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่ส่งเสริมชุมชนและช่วยให้ชุมชนเกิดความตระหนักถึงความสามารถในการเป็นประจักษ์พยานในสิ่งที่พวกเขาเชื่อ โดยการนำพาชีวิตให้สอดคล้องกับค่านิยมของสารจากพระวรสาร เพื่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมการแพร่ธรรมของพระศาสนจักรอย่างแข็งขันและร่วมมือกันในงานการประกาศพระวรสารนั้นไม่สามารถจำกัดบุคคลเป็นพิเศษ หรือในช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจง หรือในโอกาสต่างๆ เพราะเป็นการ “ให้ชีวิตแก่พระศาสนจักร เป็นความร้อนรนของพระศาสนจักร และเป็นจิตวิญญาณการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร” โดยเป็นส่วนหนึ่งของภาพที่ใหญ่กว่าของความต้องการสากล และเป็นการผลัดดันการแพร่ธรรม ชุมชนท้องถิ่นต้องพยายามที่จะตอบคำถามที่ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติทั้งปวง ในการออกไปนอกขอบเขตของตน จะเป็นการพบกับประสบการณ์ในชีวิตใหม่ “ผลที่ตามมาคือ พระศาสนจักรไม่อาจนิ่งเฉยอยู่ได้ พระศาสนจักรมีรากฐานอยู่ในกรอบพิเศษ เพื่อที่จะออกไปนอกกรอบนี้ การกระทำของพระศาสนจักรที่ดำเนินไปด้วยความนอบน้อมต่อพระบัญชาของพระคริสตเจ้าภายใต้อิทธิพลของพระหรรษทาน และความรักของพระองค์ เพื่อที่จะได้ปรากฏแก่มนุษย์ชายหญิงและประชากรทุกคนอย่างครบถ้วน และแท้จริง เพื่อนำพวกเขาไปสู่ความเชื่อในพระคริสตเจ้า” (AG 5)
ดังนั้นจึงเป็นการบอกผู้น้ำในการอภิบาล และเป็นแบบอย่างเพื่อเปิดโอกาสให้สัตบุรุษจำนวนมากผู้มี “จิตศรัทธา” ได้ช่วยเหลือพระศาสนจักรในโลก ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างในการประกาศพระวรสาร
ความเป็นอยู่ของพระศาสนจักรสากลควรเป็นความห่วงใยของทุกๆ พระศาสนจักรท้องถิ่น และทุกๆ สังฆมณฑล ในการให้การสนับสนุนของความเป็นพี่น้องกันเพื่อจัดหาสิ่งจำเป็นต่างๆ เพื่อชุมชนผู้ยากจนทั่วโลก สิ่งนี้เป็นการให้กำลังใจแบบพี่น้อง ซึ่งบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวช นำชุมชนพระศาสนจักรท้องถิ่นทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นมากยิ่งขึ้น และความเสียสละเพื่อสนองความต้องการต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น และอย่างเร่งด่วนของการแพร่ธรรมสู่นานาชาติและในระหว่างชาติเดียวกัน สิ่งที่สำคัญคือการปลุกเร้าผู้อื่นให้รู้จักพระเยซูคริสตเจ้า และคุณค่าของพระอาณาจักร เพื่อให้เป็นประจักษ์พยานในความหมายของชีวิตที่สมบูรณ์ แม้จะประสบกับความยากลำบากและความเจ็บปวด เรายิ่งกลายเป็นพระศาสนจักรมากขึ้น เมื่อเราออกจากชุมชนพระศาสนจักรท้องถิ่นของเราเพื่อสร้างการแพร่ธรรม การทำสิ่งดี มีความขยันขันแข็ง และมีความซื่อสัตย์ในสถานที่ซึ่งเราทำงาน ติดต่อกับผู้ที่อยู่ในความดูแลของเราด้วยความรัก แบ่งปันทรัพยากรของเราให้กับผู้มีความขาดแคลน และทำให้ตนเองมีส่วนร่วมในความยุติธรรมในสังคม ฯลฯ
การบริจาคเงิน
การบริจาคเงินและเงินถุงทานในวันอาทิตย์แพร่ธรรมสากลเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกำหนดไว้เพื่อเป็นกองทุนส่วนรวมของการแบ่งปันที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่องานแพร่ธรรมและบรรดาธรรมทูตทั่วโลก โดยทางสมณองค์กรเผยแพร่ความเชื่อ ในพระนามของสมเด็จพระสันตะปาปา ในพระศาสนจักรสมัยแรกเริ่ม บรรดาคริสตชนได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้มีความสามัคคี เป็นศิษย์ของพระองค์ (ยน 14:6) ในปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน เราสามารถแบ่งปันประสบการณ์นี้กับผู้อื่น ด้วยการให้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยเหตุผลแห่งความหวังซึ่งให้กำลังใจพวกเขา (1 ปต 3:15) เมื่อไม่นานมานี้ ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมสังฆมณฑลแห่งหนึ่งที่ยากจน ที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไนจีเรีย ข้าพเจ้าสามารถบอกกับชุมชนท้องถิ่น ที่วัดน้อยของเขาถูกเผาจากการถูกลอบวางเพลิงว่า พวกเขามิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่พวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในเงินบริจาคของวันอาทิตย์แพร่ธรรมในปีนี้ ในขณะที่พวกเขายิ้มและปรบมือ ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึงพลังของความหวังของคริสตชนที่มาจากทานเล็กน้อยของหญิงม่ายยากจน(ลก 21:3) ที่มอบให้กับผู้ยากจน
ทุกปีความต้องการของพระศาสนจักรคาทอลิกในเรื่องการแพร่ธรรมมีมากขึ้น ในการตั้งสังฆมณฑลใหม่ๆ ซึ่งในขณะนี้มีราว 1,100 แห่ง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือปกติประจำปีจากเงินกองทุนที่เรามอบให้ นอกจากนี้ สังฆมณฑลต่างๆ ในแดนมิสซังได้ส่งคำร้องของความช่วยเหลือมายังสมณองค์กรเผยแพร่ความเชื่อ ท่ามกลางความต้องการอื่นๆ เงินกองทุนนี้ถูกนำไปช่วยเหลือโครงการต่างๆ ในด้านคำสอน การทำงานของหมู่คณะคณะนักบวช บรรดาสามเณร สื่อมวลชน และความจำเป็นทางด้านการขนส่ง การสร้างวัดในพระศาสนจักรท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ยากจน และสถานที่ที่ถูกทำลายโดยทางสงคราม หรือจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ การบริจาคเงินเป็นวิธีที่มีความหมายอย่างมากที่แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ต่อบรรดาคริสตชนที่ถูกกดขี่ข่มเหงในประเทศต่างๆ ที่ซึ่งวัดต่างๆ ถูกปิดหรือถูกทำลาย เพราะถือว่าไม่ได้รับอนุญาต ถูกผู้มีอำนาจทางพลเรือนบีบบังคับ และระงับการทำกิจกรรมทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้ การมีส่วนร่วมและความมุ่งมั่นของคริสตชนทั่วโลกจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างเร่งด่วน การบริจาคของคาทอลิกแต่ละคนเป็นการร่วมกันกับการบริจาคจากทั่วโลก จึงทำให้ความต้องการต่างๆ เหมาะกับกองทุนที่มีในแต่ละปี และผู้อำนวยการระดับชาติของสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมจากทั่วโลก ออกเสียงลงคะแนนในการร้องขอต่างๆ และจัดสรรให้พอเหมาะกับเงินกองทุนที่มีอย่างทั่วถึง ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี เพื่อสังฆมณฑลในแดนมิสซังต่างๆ ทั่วโลก
สรุป
ในที่สุด ความต้องการต่างๆของกิจกรรมการแพร่ธรรมของเราจะเข้าถึงความดีของมนุษยชาติ อย่างมีศักยภาพ เราต้องมีความมุ่งมั่นในการสวดภาวนาให้มากขึ้น เพื่อให้จุดประสงค์นี้สามารถบรรลุผล การช่วยเหลือของเรา และ “จิตศรัทธา” (RE 3) ของเรามีความหมายมากกว่าที่เราคิด ขอบคุณในความรักของพระเจ้าที่ทรงเชื้อเชิญเราให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร หนึ่งในบรรดาสถาบันของพระศาสนจักรที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วม คือชุมชนวัดของเราที่ถูกเรียกให้รับใช้พระอาณาจักรนี้ และที่แสดงให้เราเห็นเป็นพิเศษโดยทางการเป็นประจักษ์พยานและจากประสบการณ์ของบรรดาธรรมทูตผู้ถูกเรียก ให้สร้างสะพานระหว่างเราและผู้อื่นเพื่อที่จะปรับปรุงโลกนี้ บรรดาธรรมทูตคริสตชนที่ได้รับการยกย่องมักจะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาในดินแดนแห่งหนึ่งๆ ด้วยความอดทนและความรักอย่างมาก พวกท่านได้รับการเตรียมเพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรค ต่างๆ ด้วยความรักที่อ่อนโยน และเพื่อตอบสนองด้วยการกระทำที่เป็นการยืนยัน และการเสวนาอย่างเกิดผลเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในกิจกรรมนี้พวกเขาเข้าสังคมกับประชาชนในท้องถิ่น และเริ่มต้นกิจกรรมในเชิงบวกที่ออกมาจากความตระหนักว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของ “การช่วยเหลือที่มีค่ามากที่สุดที่พระศาสนจักรสามารถแสดงต่อมนุษยชาติ”
ฉลองนักบุญเทเรซา แห่งลีซีเออร์ องค์อุปถัมภ์ของการแพร่ธรรม
คุณพ่อ Timothy Lehane B.SVD,
เลขาธิการสมณองค์กรเผยแพร่ความเชื่อ